วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557

โรคข้ออักเสบ โรคธรรมดาที่ไม่ธรรมดา

โรคข้อ เป็นกลุ่มโรคที่เกิดการอักเสบขึ้นบริเวณโครงสร้างภายใน และภายนอกของข้อ เป็นโรคที่พบบ่อยได้ทั่วโลก โดยมีลักษณะอาการเจ็บปวดตามข้อ ข้อบวม แดง ร้อน อาการฝืดตึงขัดในการเคลื่อนไหวของข้อ การสูญเสียการทำงานของข้อ การผิดรูปร่างของข้อ รวมไปถึงอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ
        โรคข้อบางโรคมีลักษณะตามแบบที่กล่าวมาหรืออาจมีลักษณะที่แตกต่างไปบ้าง ซึ่งหากผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเพียงพอก็สามารถดูแลและป้องกันมิให้โรคกำเริบได้ แต่หากดูแลผิดวิธีหรือไม่ถูกต้องตามหลักการแพทย์อาจจะทำให้ข้อเกิดอาการอักเสบและกำเริบมากขึ้นจนถึงขั้นเรื้อรังหรือพิการอย่างถาวรก็เป็นได้


โรคข้อแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ
  1. กลุ่มโรคข้อที่มีลักษณะการอักเสบภายในข้อ มีอาการเจ็บปวดข้อ บวม แดง ร้อน การกดเจ็บตามข้อ การฝืดตึงขัดของข้อ การสูญเสียการทำงานของข้อ การผิดรูปร่างของข้อ อาทิเช่น โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ โรคเกาต์ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น
  2. กลุ่มโรคข้อที่มีลักษณะจากการรับน้ำหนักและการใช้งานมานาน มีอาการเจ็บปวดข้อ ข้อบวม การฝืดตึงขัดของข้อ การสูญเสียการทำงานของข้อ การผิดรูปร่างของข้อ แต่ไม่มีลักษณะของการแดงร้อนและกดเจ็บตามข้ออย่างชัดเจน อาทิเช่น กลุ่มอาการของโรคข้อกระดูกเสื่อม โรคข้อกระดูกสันหลังเสื่อม      เป็นต้น

          อาการที่บ่งบอกถึงการเป็นโรคข้ออักเสบ
  1. มีอาการบวมที่ข้อ
  2. มีอาการปวดข้อตลอดเวลา กดเจ็บ
  3. เคลื่อนไหวข้อลำบาก
  4. ข้อจะอุ่นและแดง
  5. ข้อจะติดยึดหรือข้อติด หลังจากการตื่นนอนในตอนเช้า
  6. รู้สึกเหมือนกระดูกกระทบกัน
หากมีอาการดังกล่าว เป็นเวลามากกว่า 2 สัปดาห์ นั่นอาจแสดงว่ามีอาการเสี่ยงต่อโรคข้อ
         ลักษณะอาการของโรคข้อที่พบบ่อย
  1. โรคข้อเสื่อม
    มักเกิดกับผู้มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ส่วนมากพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ซึ่งจะมีอาการเจ็บปวดตามข้อ โดยมักจะเกิดบริเวณข้อเข่า ข้อนิ้วมือ กระดูกต้นคอและกระดูกสันหลัง ข้อจะติดขัด ขยับไม่ค่อยออก อาจมีเสียงสั่นดังในข้อ ข้ออาจเป็นตุ่มนูน ข้อคดงอ หลวม คลอนได้

  1. โรคเกาต์
    มักจะเกิดกับผู้มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป เพศชายมักจะพบว่าเป็นโรคนี้สูงกว่าเพศหญิง ในระยะแรกการปวดบวมตามข้อมักจะเป็นๆหายๆ และมักจะเป็นบริเวณโคนข้อ หัวแม่เท้าและข้อเท้า ระยะหลังพบว่าเป็นก้อนตามผิวหนัง ตามข้อเท้าและข้อศอกได้  อาจมีอาการปวดเอวและปัสสาวะเป็นเลือด มักจะเกิดร่วมกับคนที่มีโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ

  1. โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
    มักจะเกิดในคนที่อายุระหว่าง 20-50 ปี เพศหญิงจะพบว่าเป็นมากกว่าเพศชาย  ซึ่งอาการเจ็บปวดและบวมตามข้อมักจะเรื้อรังและเป็นในหลายๆข้อ  และจะมีอาการข้อยึดเป็นอย่างมาก ในตอนเช้าๆข้อมัก จะบวม ระยะท้ายๆข้อจะคดงอและพิการผิดรูปร่างไปได้ โรคนี้เป็นมากๆอาจถึงขนาดทำให้เป็นง่อยได้

          สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อ
  1. อายุ  พบมากในผู้สูงอายุ  ส่วนใหญ่มักจะเป็นในกลุ่มอาการของโรคข้อเสื่อม
  2. เพศ  เพศหญิงจะมีโอกาสเกิดโรคข้อมากกว่าเพศชายถึง 2 เท่าตัว
  3. ความอ้วนหรือระดับน้ำหนักตัวมาก  มักทำให้ข้อเข่า ข้อสะโพกหรือข้อสันหลังต้องรับน้ำหนักมากกว่าธรรมดา ซึ่งจะทำให้เสื่อมสภาพได้เร็วมากยิ่งขึ้น
  4. ข้อได้รับอุบัติเหตุจากการเล่นกีฬาหรือจากการทำงาน  ส่วนมากมักเกิดบริเวณข้อเข่า
  5. กรรมพันธุ์ บางรายมีกระดูกอ่อนที่ผิดปกติมาแต่กำเนิด และอาการจะชัดเจนขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
  6. สิ่งแวดล้อม เชี่อว่าอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเป็นตัวกระตุ้น
  7. โภชนาการ เครื่องดื่มอัลกอฮอล์อาจกระตุ้นให้เกิดผลึกเกลือต่างๆ อาหารที่ทำจากสัตว์ปีก
     กลยุทธ์พิชิตโรคข้อ
1. การดูแลตนเอง
  • การออกกำลังกายและพักผ่อนอย่างเพียงพอและสมดุลกัน คือ เมื่อโรคกำเริบให้พัก โรคสงบไม่มีอาการก็ให้ออกกำลังกาย การจะพักเพื่อลดการอักเสบ ลดปวดนั้นควรจะพักให้ สั้นที่สุด ส่วนการออกกำลังจะช่วยให้ข้อแข็งแรงมากขึ้น ลดการอักเสบ นอนหลับได้ดีขึ้น
  • การดูแลข้อ ช่วงที่ปวดอาจใส่เครื่องพยุงข้อเพื่อลดอาการปวดและทำให้ข้อได้พัก
  • การลดความเครียด เนี่องจากโรคนี้เป็นโรคเรื้อรังไม่หาย ผู้ป่วยมักหมดหวังในชีวิต   หมดกำลังใจในการทำกายภาพบำบัด ญาติและผู้ใกล้ชิดต้องให้กำลังใจและช่วยดูแลผู้ป่วย
  • อาหาร ควรลดไขมัน และอาหารที่รับประทานควรมีแคลเซียมที่เพียงพอ
2. การรักษาทางยา
ควรเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับโรคข้อชนิดนั้นๆ และเหมาะสมกับปัญหาที่พบในระยะของโรค ยาบางชนิดนอกจากให้ผลการรักษาที่ดีแล้ว ยังอาจสร้างอาการข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วยได้ด้วย  ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนการใช้ยาแต่ละชนิด
  • ภาวะแทรกซ้อนจากยาลดอักเสบแบบดั้งเดิม (NSAIDs)  อาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน มีแผลในกระเพาะอาหาร เลือดออกในกระเพาะอาหาร เป็นต้น
  • ภาวะแทรกซ้อนจากยาสเตียรอยด์ อาจทำให้อ้วน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน กระดูกผุ กระดูกตาย ติดเชื้อง่าย
3. การรักษาทางกายภาพบำบัด
เป็นการรักษาเพื่อลดอาการ และป้องกันการพิการของข้อและฟื้นฟูสมรรถภาพข้อให้ใช้งานได้ดีขึ้นการรักษาแบบนี้เป็นการรักษาที่จะต้องนำมาใช้ควบคู่กับการรักษาทั้งทางยาและการผ่าตัด

4. การรักษาทางการผ่าตัด
จะใช้วิธีนี้ก็ต่อเมื่อพบว่าข้อมีความพิการที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยยาหรือกายภาพบำบัด และผ่าตัดเพื่อแก้ไขความพิการหรือเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่ข้อนั้นๆ
ชีวิตประจำวันกับโรคข้อ
การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งที่จะทำให้สุขภาพข้อดีขึ้นได้  ซึ่งถ้าศึกษาวิธีการ
ป้องกันรวมถึงการปฏิบัติตัวที่ถูกวิธีดังตัวอย่างข้างล่างนี้ได้ ก็จะเป็นผลดีต่อสุภาพข้อเป็นอย่างยิ่ง
  1. การรักษาอาการปวด  ถ้าปวดมาก แม้แพทย์จะรักษาเต็มที่แล้ว ควรจะมีการรักษาอย่างอื่นเพิ่มเติม โดยแพทย์จะทำการเปลี่ยนยา เพิ่มยา หรือรักษาด้วยกายภาพบำบัดก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดลงได้
  2.  ต้องเข้าใจยาที่รับประทาน  ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ในท้องตลาดจะมีผลต่อกระเพาะอาหาร  ยาต้านอักเสบชนิด cox-2 inhibitor จะมีผลต่อกระเพาะอาหารน้อยกว่ากลุ่มยาแบบเดิม
  3. การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน  ถ้าปฏิบัติไม่ถูกวิธีอาจจะทำให้ข้อต่ออักเสบมากขึ้น เช่น การเดินขึ้นลงบันไดสูงๆ  การนั่งยองๆ  การนั่งงอเข่านานๆ
  4. การบริหารร่างกาย  ผู้ป่วยโรคข้อสามารถบริหารร่างกายหรือข้อต่อได้ ถ้าข้อต่อยังไม่มีการอักเสบ อาการปวดข้อจากการบริหารร่างกายเป็นสัญญาณเตือนให้หยุดการออกกำลังกาย  การบริหารร่างกายจะเกี่ยวข้องกับจิตใจด้วย  ถ้าบริหารร่างกายเป็นกลุ่มจะทำให้เกิดความเพลิดเพลินและสนุกสนานประกอบกันไปด้วย
  5. รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ
ความจริงที่น่าแปลกใจเกี่ยวกับโรคข้อ
จากผลการสำรวจในประเทศสหรัฐอเมริกา (source: www.arthritis.org) ในปีพ.ศ. 2548 พบว่า
  1. พบคนเป็นโรคข้อถึง 1 ใน 3 ของประชากรผู้ใหญ่ทั้งประเทศ (66 ล้านคน หรือเท่ากับประชากรไทยทั้งประเทศ)
  2. โรคข้อเป็นปัญหาระดับชาติที่สำคัญมากและเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะทุพพลภาพในกลุ่มคนอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไป
  3. โรคข้อพบได้กับคนทุกอายุ รวมทั้งเด็กด้วย
  4. ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับโรคข้อในประเทศสหรัฐอเมริกา สูงถึงปีละ 3.5 ล้านล้านบาท
  5. ครึ่งหนึ่งของคนที่เป็นโรคข้อคิดว่าไม่มีอะไรสามารถจะมาช่วยแก้ไขโรคนี้ได้
  ผลิตภัณฑ์ จ้อนท์แคร์(jontkare) สามารถป้องกันและแก้ปัญหาโรคกระดูกและข้อ ได้ผลจริง


       จ้อนท์แคร์(jontkare) เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดที่ให้ผลจากการรับประทาน 100% เห็นผลจริง รวดเร็ว ชัดเจน จึงขายดีที่สุดในขณะนี้
ปริมาณและราคา 1 ขวดบรรจุ 30 เม็ด ราคา 1,050 บาท
ดูข้อมูลที่   http://jontkaremir.blogspot.com
สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่ายที่
คุณ วีระชัย  ทองสา    โทร.084-6822645 , 085-0250423
ID Line : weerachaicoffee
อีเมล์  weerachai.coffee@hotmail.com





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น